ads by google

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ฟังก์ชันพื้นฐานการเขียนโปรแกรมภาษา C


1 ฟังก์ชันรับข้อมูล  (input functions)
            ในเนื้อหาฟังก์ชันการับข้อมูลของภาษา  C  มีฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด  อยู่หลายฟังก์ชันที่จะกล่าวถึง  ดังนี้คือ ฟังก์ชัน  scanf( ), ฟังก์ชัน  getchar( ), ฟังก์ชัน  getch( ), ฟังก์ชัน  getche( )  และฟังก์ชัน  gets( )  ซึ่งแต่ละฟังก์ชันมีรายละเอียดของการใช้งานดังนี้
             
           1.1 ฟังก์ชัน  scanf( )
                        เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูล จากคีย์บอร์ดเข้าไปเก็บไว้ในตัวแปรที่กำหนดไว ้โดยสามารถรับข้อมูลที่เป็นตัวเลขจำนวนเต็ม  ตัวเลขทศนิยม  ตัวอักขระตัวเดียว หรือข้อความก็ได
้            รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน

scanf  (control   string,argument  list);

            โดยที่
                        control  string  คือ  รหัสรูปแบบข้อมูล (format code)  โดยจะต้องเขียนอยู่ภายใต้เครื่องหมาย  “……..”  (double  quotation)
                        argument list คือ  ชื่อตัวแปรที่ใช้เก็บข้อมูลโดยจะต้องใช้เครื่องหมาย  &  (ampersand)  นำหน้าชื่อตัวแปร  ยกเว้นตัวแปรชนิด  string  ไม่ต้องมีเครื่องหมาย  &  นำหน้าชื่อ  ถ้ามีตัวแปรมากกว่า  1  ตัวแปร  ให้ใช้เครื่องหมาย  ,  (comma)  คั่นระหว่างตัวแปรแต่ละตัว

ตารางที่  1  แสดงรหัสแบบข้อมูล  ที่สามารถใช้ในฟังก์ชัน  scanf( )
รหัสรูปแบบ 
(format  code)
ความหมาย
%c
  ใช้กับข้อมูลชนิดตัวอักขระตัวเดียว  (single  character :  char)
%d
  ใช้กับข้อมูลชนิดตัวเลขจำนวนเต็ม (integer : int)  โดยสามารถใช้กับตัวเลขฐาน  10  เท่านั้น
%e
  ใช้กับข้อมูลชนิดตัวเลขจุดทศนิยม  (floating  point : float)
%f, %lf
ใช้กับข้อมูลชนิด  float  และ  double  ตามลำดับ
%g
ใช้กับข้อมูลชนิด  float
%h
ใช้กับข้อมูลชนิด  short  integer
%l
ใช้กับข้อมูลชนิด  int  โดยใช้กับตัวเลขฐาน 8, ฐาน 10 และฐาน 16
%o
ใช้กับข้อมูลชนิด  int  โดยสามารถใช้กับตัวเลขฐาน  8  เท่านั้น
%u
ใช้กับข้อมูลชนิด  unsigned  int  โดยใช้กับตัวเลขฐาน  10  เท่านั้น
%x
ใช้กับข้อมูลชนิด  int  โดยสามารถใช้กับตัวเลขฐาน  16  เท่านั้น
%s
ใช้กับข้อมูลชนิด  string
ที่มา  :  Gottfried, S. Byron, 1990 : 481.
            เพื่อให้เกิดความเข้าใจการใช้งานฟังก์ชัน  scanf( )  ได้ดียิ่งขึ้นควรศึกษาโปรแกรมตัวอย่างที่  1, 2  และ  3  ดังต่อไปนี้

โปรแกรมตัวอย่างที่  1  แสดงโปรแกรมการใช้ฟังก์ชัน  scanf( )  ในการรับข้อมูลจากคีย์บอร์ดเข้าไปเก็บไว้ในตัวแปรชนิดจำนวนเต็ม 


/*          scanf1.c             */                                              
#include<stdio.h>                                    /*  บรรทัดที่  1  */
void main(void)                                         /*  บรรทัดที่  2  */
{                                                                  /*  บรรทัดที่  3  */
      int  a;                                                   /*  บรรทัดที่  4  */
      scanf("%d", &a);                               /*  บรรทัดที่  5  */
}                                                                 /*  บรรทัดที่  6  */
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม
            หน้าจอว่าง ๆ  มีเคอร์เซอร์กระพริบเพื่อรอรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด  (ข้อมูลที่ต้องการนั้นเป็นจำนวนเต็ม  เพื่อนำไปเก็บไว้ที่ตัวแปร  a)  ซึ่งผู้ใช้ควรเติมข้อมูลตัวเลขจำนวนเต็มเพื่อให้สัมพันธ์กับชนิดของตัวแปร
คำอธิบายโปรแกรม 
            จากโปรแกรมตัวอย่างที่  1  สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ  ได้ดังนี้

บรรทัดที่   เป็นคำสั่งเรียกแฟ้มที่ชื่อว่า  stdio.h  ซึ่งภายในจะบรรจุคำสั่งหรือฟังก์ชันที่จำเป็นต้องใช้ในภาษา  C  เช่น  printf( )
บรรทัดที่  2  เป็นฟังก์ชันหลักของโปรแกรม  และบอกให้  C compiler  รู้ว่าฟังก์ชัน
main( )  ไม่มีการส่งค่าข้อมูลและไม่มีการรับค่าข้อมูลกลับ
บรรทัดที่  3  เป็นการแสดงจุดเริ่มต้นของฟังก์ชัน  main( )
บรรทัดที่  4  เป็นการประกาศตัวแปรชื่อ  a  เป็นชนิดจำนวนเต็ม  หรือ  int
บรรทัดที่  5  ฟังก์ชัน  scanf( )  เพื่อรอรับข้อมูลจากคีย์บอร์ดเข้าไปเก็บไว้ในตัวแปร  a  ซึ่งเป็นชนิดจำนวนเต็ม
บรรทัดที่  6  เป็นการแสดงจุดสิ้นสุดของฟังก์ชัน  main( )

โปรแกรมตัวอย่างที่  แสดงโปรแกรมการใช้ฟังก์ชัน  scanf( )  ในการรับข้อมูลจากคีย์บอร์ดเข้าไปเก็บไว้ในตัวแปรชนิดจำนวนเต็ม  และนำค่าของตัวแปรออกแสดงผลที่จอภาพ

/*          scanf2.c             */
#include<stdio.h>                                       /*  บรรทัดที่  1  */
   void main(void)                                         /*  บรรทัดที่  2  */
{                                                                     /*  บรรทัดที่  3  */
      int  a;                                                      /*  บรรทัดที่  4  */
      scanf("%d", &a);                                   /*  บรรทัดที่  5  */
      printf("Your enter is ...%d", a);            /*  บรรทัดที่  6  */
}                                                                     /*  บรรทัดที่  7  */


  
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม 

ข้อสังเกต  ในเอกสารเล่มนี้  ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม  ถ้าตัวอักษรที่เป็นสีเข้มคือข้อความที่ให้ผู้ใช้พิมพ์ผ่านคีย์บอร์ด 
คำอธิบายโปรแกรม 
            ในโปรแกรมตัวอย่างที่  2  โปรแกรมจะรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด ที่เป็นชนิดจำนวนเต็มเก็บไว้ในตัวแปร และนำค่าของตัวแปรแสดงผลออกจอภาพ  ด้วยคำสั่งบรรทัดที่  6  คือ  printf(“Your enter is…%d”, a);  สำหรับฟังก์ชัน  printf( )  ผู้ใช้สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมก่อนได้ในหัวข้อ  2.1 
โปรแกรมตัวอย่างที่  3  แสดงโปรแกรมการใช้ฟังก์ชัน  scanf( )  ในการรับข้อมูลจากคีย์บอร์ดเข้าไปเก็บไว้ในตัวแปรชนิดตัวอักษร  เลขจำนวนเต็ม  และเลขทศนิยม  และนำค่าของตัวแปรออกแสดงผลที่จอภาพ

/*          scanf3.c             */
#include<stdio.h>                                /*  บรรทัดที่  1  */
#include<conio.h>                               /*  บรรทัดที่  2  */
void main(void)                                     /*  บรรทัดที่  3  */
{    char name[50];                                /*  บรรทัดที่  4  */
      int  age;                                            /*  บรรทัดที่  5  */
      float weight, height;                       /*  บรรทัดที่  6  */
      clrscr( );                                              /*  บรรทัดที่  7  */
      printf("Enter your Name and Age: ");        /*  บรรทัดที่  8  */
      scanf("%s %d", name, &age);                   /*  บรรทัดที่  9  */
      printf("Enter your Weight and Height : ");  /* บรรทัดที่ 10 /
      scanf("%f %f", &weight, &height);           /*  บรรทัดที่  10 */
      printf("\nYour name is ...%s.\n",name);   /*  บรรทัดที่  11 */
      printf("You  are %d years old.\n",age);    /*  บรรทัดที่  13 */
      printf("Your weight is ...%f cm.\n",weight);  /*บรรทัดที่ 14*/
printf("Your height is ...%f cm.\n",height);    /*  บรรทัดที่  15 */
}                                                                         *  บรรทัดที่  16 */
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม

แผนผังลำดับงาน: จอภาพ: Enter your Name and Age: KANNIKAR  25  Enter your Weight and Height : 155.5  45.5  Your name is ...KANNIKAR.  You  are 25 years old.  Your weight is ...155.500000 cm.  Your height is ...45.500000 cm.
คำอธิบายโปรแกรม 
            จากโปรแกรมตัวอย่างที่  3  สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังต่อไปนี้

บรรทัดที่  4  เป็นการชุดชนิด  char  ซึ่งจองไว้  50  ตัวอักษร  (เรื่องตัวแปรชุดได้อธิบายรายละเอียดไว้ในบทที่  5)
บรรทัดที่  7  ฟังก์ชัน  clrscr( )  ใช้ลบข้อความใด ๆ  ออกจากจอภาพ  ซึ่งจะเรียกใช้งานควบคู่กับแฟ้มที่ชื่อ  conio.h  ดังนั้นก่อนฟังก์ชัน  main( )  จึงต้องเรียกใช้  #include <conio.h>  ก่อน  (บรรทัดที่  2)
บรรทัดที่  8  จะแสดงข้อความและรอรับค่า  Name  และ  Age  จากผู้ใช้  ดังนั้นเวลาเติมข้อมูลให้เว้นช่องว่างอย่างน้อย  1  ช่อง  เพื่อแยกข้อมูล  Name  กับ  Age
บรรทัดที่  9  จะรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด  2  ค่า  มาเก็บไว้ในตัวแปร  name  เป็นข้อความ  และเก็บในตัวแปร  age  เป็นตัวเลขจำนวนเต็ม
บรรทัดที่  10  จะทำงานคล้ายกับบรรทัดที่  8  แต่จะรับข้อมูลที่เป็นตัวเลขทศนิยม
บรรทัดที่  11 – 15  จะนำข้อมูลที่เก็บไว้ในตัวแปรต่าง ๆ  ออกมาแสดงผลที่จอภาพตามรหัสรูปแบบข้อมูลต่าง ๆ

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คำสงวนของภาษาซี (Reserved Words)

คำสงวน (Reserved Words)

                  คำสงวน (Reserved Words) คือคำที่กำหนดขึ้นในภาษาซีเพื่อให้มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง และนำไปใช้งานแตกต่างกัน การประกาศค่าตัวแปรจะต้องไม่ให้ซ้ำกับคำสงวน
Auto
Break
Case
Char
Const
Default
Do
Double
Else
Enum
Short
Signed
Sizeof
Extern
Float
For
Goto
If
Int
Long
Return
Register
Continue
While
Static
Struct
Switch
Typedef
Unon
Unsigned
Void
volatile


  


ตัวแปรของภาษาซี (variable)



                ตัวแปร (variable)  คือชื่อที่ผู้เขียนโปรแกรมตั้งขึ้น เพื่อใช้เก็บค่าที่ต้องการนำมาใช้งานในการเขียนโปรแกรม เพื่อทำการประมวลผลข้อมูล โดยมีกฏในการตั้งชื่อตัวแปรดังนี้
1.
ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ตัวต่อไปอาจจะเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขก็ได้
2.
ห้ามใช้สัญลักษณ์อื่นใด ยกเว้นเครื่องหมายสตริงก์ ($) และขีดล่าง (Underscore)
3.
ตัวแปรอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่มีความหมายแตกต่างกัน
4.
ห้ามเว้นวรรคระหว่างตัวแปร
5.
ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวนในภาษาซี
               
ก่อนที่จะนำตัวแปรไปใช้งาน ในภาษาซีจะต้องมีการประกาศค่าตัวแปรให้สอดคล้องกับข้อมูลที่จะนำไปใช้โดยมีรูปแบบดังนี้ 
รูปแบบ
Type varible name
type
ชนิดของตัวแปร ซึ่งอาจจะป็น char, int, float, double หรือตัวแปรชนิดอื่นๆ เป็นต้น
variable name
ชื่อของตัวแปร ถ้ามีมากกว่า 1 ตัวให้ใช้เครื่องหมายคอมม่าคั่น
ตัวอย่างการประกาศตัวแปร
char n;
ประกาศค่าตัวแปรชื่อ n เป็นข้อมูลชนิด character
float a,b,c;
ประกาศค่าตัวแปรชื่อ a,b,c เป็นข้อมูลชนิด float
int number=1;
ประกาศค่าตัวแปรชื่อ number เป็นข้อมูลชนิด integer และกำหนดให้ตัวแปร count
มีค่าเท่ากับ 1
char name[15];
ประกาศตัวแปรชื่อ name เป็นลักษณะตัวแปรชุดเก็บชื่อยาวไม่เกิน 15 ตัวอักษร
           


โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี



          โปรแกรมภาษาซีมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือไฟล์ส่วนหัวโปรแกรม และไฟล์โปรแกรม ไฟล์ส่วนหัวโปรแกรมเป็นไฟล์ที่ใช้เก็บไลบราลีเพื่อใช้รวม (include) ในการคอมไพล์โปรแกรมซึ่งจะมีส่วนขยายเป็น *.h มีชื่อเรียกว่า Compiler Directive ไฟล์โปรแกรมจะเริ่มต้นด้วยฟังก์ชัน main() และตามด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด เพื่อเริ่มต้นเขียนโปรแกรม การเขียนโปรแกรมจะต้องเขียนด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น และเมื่อจบประโยคคำสั่ง จะใช้เครื่องหมายเซมิโคล่อน ( ; ) ในการคั่นแต่ละคำสั่ง ภายในโปรแกรมจะประกอบด้วยฟังก์ชั่นและส่วนของคำอธิบาย เมื่อเขียนคำสั่งเสร็จจะปิดท้ายโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาปิดเสมอ
         รูปภาพ แสดงโครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี

#include<library>
/* ไฟล์ส่วนหัวโปรแกรม*/

void main(void)
/*ฟังก์ชันหลักของโปรแกรม*/

{
/*เริ่มต้นการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด*/

    variable declaration;
/*การประกาศค่าตัวแปรที่ใช้ในโปรแกรม*/

    program statement;
/*ประโยคคำสั่งในโปรแกรม*/

}
/*จบการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาปิด*/

คำอธิบาย
#include<library>

เป็นส่วนหัวหัวโปรแกรมที่จะต้องเขียนไว้เพื่อให้ใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ในกรณีที่ต้องการทราบว่าฟังก์ชันใดถูกนิยามไว้ที่ใดให้ทำแถบสีที่ฟังก์ชันดังกล่าวและกดปุ่ม Ctrl+f1
main
เป็นฟังก์ชันหลักของโปรแกรม
( ) 
ภายในวงเล็บเป็นค่าพารามิเตอร์ที่จะส่งผ่านไปทำงานยังฟังก์ชันอื่นๆ ถ้าไม่มีการใส่ค่าแสดงว่าไม่ต้องการมีค่าพารามิเตอร์
{
ปีกกาเปิดแสดงการเริ่มต้นการเขียนโปรแกรม
variable declarations
ประกาศตัวแปร
program statement
การเขียนประโยคคำสั่ง
}
ปีกกาปิดแสดงการจบการเขียนโปรแกรม
/*ข้อความ*/

คำอธิบายโปรแกรม ใช้ในการอธิบายความหมายของคำสั่งหรือสิ่งที่ต้องการเขียนไว้กันลืมจะไม่มีผลใดๆกับโปรแกรม แต่การเขียนจะต้องเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย /* และจบด้วยเครื่องหมาย*/