ads by google

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คำสงวนของภาษาซี (Reserved Words)

คำสงวน (Reserved Words)

                  คำสงวน (Reserved Words) คือคำที่กำหนดขึ้นในภาษาซีเพื่อให้มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง และนำไปใช้งานแตกต่างกัน การประกาศค่าตัวแปรจะต้องไม่ให้ซ้ำกับคำสงวน
Auto
Break
Case
Char
Const
Default
Do
Double
Else
Enum
Short
Signed
Sizeof
Extern
Float
For
Goto
If
Int
Long
Return
Register
Continue
While
Static
Struct
Switch
Typedef
Unon
Unsigned
Void
volatile


  


ตัวแปรของภาษาซี (variable)



                ตัวแปร (variable)  คือชื่อที่ผู้เขียนโปรแกรมตั้งขึ้น เพื่อใช้เก็บค่าที่ต้องการนำมาใช้งานในการเขียนโปรแกรม เพื่อทำการประมวลผลข้อมูล โดยมีกฏในการตั้งชื่อตัวแปรดังนี้
1.
ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ตัวต่อไปอาจจะเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขก็ได้
2.
ห้ามใช้สัญลักษณ์อื่นใด ยกเว้นเครื่องหมายสตริงก์ ($) และขีดล่าง (Underscore)
3.
ตัวแปรอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่มีความหมายแตกต่างกัน
4.
ห้ามเว้นวรรคระหว่างตัวแปร
5.
ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวนในภาษาซี
               
ก่อนที่จะนำตัวแปรไปใช้งาน ในภาษาซีจะต้องมีการประกาศค่าตัวแปรให้สอดคล้องกับข้อมูลที่จะนำไปใช้โดยมีรูปแบบดังนี้ 
รูปแบบ
Type varible name
type
ชนิดของตัวแปร ซึ่งอาจจะป็น char, int, float, double หรือตัวแปรชนิดอื่นๆ เป็นต้น
variable name
ชื่อของตัวแปร ถ้ามีมากกว่า 1 ตัวให้ใช้เครื่องหมายคอมม่าคั่น
ตัวอย่างการประกาศตัวแปร
char n;
ประกาศค่าตัวแปรชื่อ n เป็นข้อมูลชนิด character
float a,b,c;
ประกาศค่าตัวแปรชื่อ a,b,c เป็นข้อมูลชนิด float
int number=1;
ประกาศค่าตัวแปรชื่อ number เป็นข้อมูลชนิด integer และกำหนดให้ตัวแปร count
มีค่าเท่ากับ 1
char name[15];
ประกาศตัวแปรชื่อ name เป็นลักษณะตัวแปรชุดเก็บชื่อยาวไม่เกิน 15 ตัวอักษร
           


โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี



          โปรแกรมภาษาซีมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือไฟล์ส่วนหัวโปรแกรม และไฟล์โปรแกรม ไฟล์ส่วนหัวโปรแกรมเป็นไฟล์ที่ใช้เก็บไลบราลีเพื่อใช้รวม (include) ในการคอมไพล์โปรแกรมซึ่งจะมีส่วนขยายเป็น *.h มีชื่อเรียกว่า Compiler Directive ไฟล์โปรแกรมจะเริ่มต้นด้วยฟังก์ชัน main() และตามด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด เพื่อเริ่มต้นเขียนโปรแกรม การเขียนโปรแกรมจะต้องเขียนด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น และเมื่อจบประโยคคำสั่ง จะใช้เครื่องหมายเซมิโคล่อน ( ; ) ในการคั่นแต่ละคำสั่ง ภายในโปรแกรมจะประกอบด้วยฟังก์ชั่นและส่วนของคำอธิบาย เมื่อเขียนคำสั่งเสร็จจะปิดท้ายโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาปิดเสมอ
         รูปภาพ แสดงโครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี

#include<library>
/* ไฟล์ส่วนหัวโปรแกรม*/

void main(void)
/*ฟังก์ชันหลักของโปรแกรม*/

{
/*เริ่มต้นการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด*/

    variable declaration;
/*การประกาศค่าตัวแปรที่ใช้ในโปรแกรม*/

    program statement;
/*ประโยคคำสั่งในโปรแกรม*/

}
/*จบการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาปิด*/

คำอธิบาย
#include<library>

เป็นส่วนหัวหัวโปรแกรมที่จะต้องเขียนไว้เพื่อให้ใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ในกรณีที่ต้องการทราบว่าฟังก์ชันใดถูกนิยามไว้ที่ใดให้ทำแถบสีที่ฟังก์ชันดังกล่าวและกดปุ่ม Ctrl+f1
main
เป็นฟังก์ชันหลักของโปรแกรม
( ) 
ภายในวงเล็บเป็นค่าพารามิเตอร์ที่จะส่งผ่านไปทำงานยังฟังก์ชันอื่นๆ ถ้าไม่มีการใส่ค่าแสดงว่าไม่ต้องการมีค่าพารามิเตอร์
{
ปีกกาเปิดแสดงการเริ่มต้นการเขียนโปรแกรม
variable declarations
ประกาศตัวแปร
program statement
การเขียนประโยคคำสั่ง
}
ปีกกาปิดแสดงการจบการเขียนโปรแกรม
/*ข้อความ*/

คำอธิบายโปรแกรม ใช้ในการอธิบายความหมายของคำสั่งหรือสิ่งที่ต้องการเขียนไว้กันลืมจะไม่มีผลใดๆกับโปรแกรม แต่การเขียนจะต้องเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย /* และจบด้วยเครื่องหมาย*/


กำเนิดภาษาซี

(Dennis Ritchie)

        ด้วยศักยภาพและเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ที่แพร่หลาย จึงทำให้มีผู้คิดค้นพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาซีขึ้น  คือ นายเดนนิส ริทชี่  (Dennis Ritchie) ที่ศูนย์วิจัยเบล (Bell Laboratories) ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1972   และเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนระบบปฏิบัติการยูนิกส์ ซึ่งใช้กันแพร่หลายในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาระดับต่ำ (Low-Level Language) จึงทำให้นักพัฒนาโปรแกรมสามารถที่จะกำหนดรายละเอียดของโปรแกรมให้เข้าถึงการทำงานในส่วนต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ให้มากที่สุดเพื่อให้เกิดความเร็ว ในการทำงานสูงสุด และในขณะเดียวกันภาษาซีก็ยังมีความเป็นภาษาระดับสูง (High-Level Language) ทำให้ผู้พัฒนาสามารถที่จะพัฒนาโปรแกรมได้ โดยเน้นไปที่การแก้ปัญหาที่ต้องการได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องคำนึงถึงฮาร์ดแวร์ใด ๆ
ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นาย Bjarne Stroustrup นักวิจัยและพัฒนาของศูนย์วิจัยเบล (Bell Laboratiories) ได้พัฒนาภาษา C++ (ซีพลัสพลัส) ขึ้นมา โดยที่ภาษา C++ มีความสามารถในการทำงานได้ทุกอย่างเหมือนกับภาษาซี ซึ่งมีรูปแบบและโครงสร้างของภาษาใกล้เคียงกัน แต่ภาษา C++ ใช้หลักการออกแบบโปแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Design) ในขณะที่ภาษาซีใช้หลักการออกแบบโปรแกรมแบบโมดูลาร์ (Modular Design)